กระดูกพรุน โรคร้ายแรงในผู้สูงอายุที่ต้องใส่ใจ

กระดูกพรุน โรคร้ายแรงในผู้สูงอายุที่ต้องใส่ใจ

 

เมื่อการเดินทางของอายุก้าวย่างเข้าสู่ช่วยวัยผู้สูงอายุ การใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังเป็นสิ่งที่สมควรต้องใส่ใจอย่างยิ่ง  การดูแลสุขภาพทั้งภายนอกและภายในจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรหาแนวทางการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมให้ห่างไกลโรคที่มักจะเกิดได้ง่ายกับวัยนี้

กระดูกถือเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญสำหรับโครงสร้างภายในของร่างกาย การเสื่อมถอยของแคลเซียมและกระดูกเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่ออายุมากขึ้น มีโรคเกี่ยวกับกระดูกมากมายสำหรับคนวัยนี้ที่ต้องคอยระวัง และหนึ่งในนั้น ก็รวมโรคกระดูกพรุนเข้าไปด้วย เนื่องจากปัจจุบันในประเทศไทยมีอัตราผู้สูงอายุเริ่มเป็นโรคกระดูกพรุนนี้เป็นจำนวนมาก

โรคกระดูกพรุน  (Osteoporosis)

จัดเป็นโรคทางกระดูกที่จะเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ภาวะความหน้าแน่นต่างๆของมวลกระดูกที่มีเริ่มน้อยลงไปเรื่อยๆ หากปล่อยไว้นานวันเข้าก็จะส่งผลให้กระดูกมีความเปราะบาง หักง่าย และอาจจะไม่สามารถรับน้ำหนักของร่างกายได้ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย จัดเป็นอีกหนึ่งโรคที่หากมีการหนักมาก ก็ถือว่ามีความอันตรายอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามถึงโรคนี้จะเป็นโรคที่พบบ่อยมากในผู้สูงอายุ แต่ก็มีอัตราการเกิดระยะเริ่มต้นกับวัยอื่นๆ ได้เช่นกัน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคโรคกระดูกพรุน  (Osteoporosis)

ทางการแพทย์สรุปปัจจัยเสี่ยงออกมาได้คร่าวๆดังนี้

– เพศ หากเป็นเพศหญิงมีอัตราการเกิดมากกว่าเพศชาย

– วัย ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นมวลกระดูกจะค่อยๆบางลงเรื่อยๆ

– พันธุกรรม ตามสถิติแล้ว พบว่าหากมีคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน ก็มีเปอร์เซ็นสูงที่คนรุ่นหลังๆจะเป็นโรคนี้เมื่ออายุเพิ่มขึ้น

– พฤติกรรม ทั้งนี้ การสูบบุหรี่และสุรา เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้มวลกระดูกเสื่อมโทรมลง ตลอดจนการรับทานยาที่มีส่วนประกอบของสเตียร์รอยด์ในปริมาณมาก ก็ส่งผลกับมวลกระดูกเช่นกัน

การรักษาโรคกระดูกพรุน  (Osteoporosis)

ปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาฟื้นฟูให้อาการดีขึ้นได้ โดยการรักษาตามความร้ายแรงของอาการที่พบโดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์สามารถทำได้ดังนี้

– การรักษาแบบไม่ใช้ยา ในกรณีนี้สามารถทำได้หากพบผู้ป่วยในระยะเริ่มต้น โดยการปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย ทั้งในการเลือกทานอาหารที่ให้แคลเซียมสูง หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำได้ การออกกำลังกายให้เหมาะสม ตลอดจนทานอาหารเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก

– การรักษาแบบใช้ยา ในกรณีนี้ผู้ป่วยอาจเริ่มมีอาการที่หนักขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้ โดยมีทั้งยากินและยาฉีด ในส่วนของตัวยาและชนิดของยานั้น จะอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ทั้งนี้ผู้ป่วยควรกินยาให้ตรงเวลา ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งครัด และไปตามนัดของแพทย์เสมอเพื่อติดตามอาการ นอกจากนี้ ผู้ป่วยห้ามซื้อยากินเองเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้อาการทรุดหนัก หรือมีผลข้างเคียงกับโรคแทรกซ้อนอื่นๆได้

กระดูกพรุน โรคร้ายแรงในผู้สูงอายุที่ต้องใส่ใจ

ปัจจุบันโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ถูกจัดเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายแรงและเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอาย หากไม่ได้รับหารรักษาที่ดีและถูกต้องก็อาจจะส่งผลให้ถึงแก่ชีวิตเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม การเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้น ถือเป็นทางออกที่ดีกว่าการรักษาเมื่อเกิดโรคแล้ว ทั้งนี้ควรหาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเดิมๆ เมื่ออายุมากขึ้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  ตลอดจนอาหารเสริมต่างๆ ก็จะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงของทั้งร่างกายและกระดูก ให้ห่างไกลจากโรคต่างๆ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ นอกจากนี้การเข้าตรวจสุขภาพและมวลกระดูกประจำปี ยังถือเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันที่ดีสำหรับผู้ที่อายุมากขึ้นเรื่อยๆอีกด้วย

 

 

 

 

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *