การรักษาโรคซึมเศร้า
ในสังคมไทยปัจจุบันโรคซึมเศร้าถือเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากไม่ว่าจะเป็นแหล่งข่าวไหนก็มักมีมาให้ดูทุกๆวัน โรคซึมเศร้าถือเป็นโรคที่ใกล้ตัวเหล่าวัยรุ่นมากเพราะวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่จะเรียนหนักและมักจะมีปัญหากับทางบ้านยิ่งในปัจจุบันมีโรคโควิด-19แพร่ระบาดทำให้โรคซึมยิ่งเกิดขึ้นมากเพราะเด็กนักเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์ทำให้ต้องอยู่หน้าคอมหน้าโทรศัพท์เป็นเวลานานแต่ผู้ปกครองบางคนคิดว่าลูกไม่เรียนบ้างเล่นเกมบ้างและไปดุไปว่าลูกการกระทำแบบนี้ก็อาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าในตัวลูกได้เช่นกัน วันนี้แอดจึงอยากที่จะแนะนำการรักษาโรคซึมเศร้าที่มีทั้งแบบรักษาด้วยยาและรักษาทางจิตใจ
- การรักษาด้วยยา ยาที่สามารถนำมาแก้โรคซึมเศร้าได้ในปัจจุบันมีทั้ง2ชนิดด้วยกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับร่างกายของเราเองว่าสามารถรับยาชนิดไหนแล้วทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด ยาที่ใช้รักษาเป็นยาที่จะเข้าไปทำปรับความสมดุลของสารเคมีในสมองทำให้เมื่อทานยาไปแล้วจะรู้สึกง่วงเพื่อให้สมองได้พักผ่อนไม่ต้องคิดอะไรมากแต่การทานยานั้นจะต้องทานต่อเนื่องประมาณ6-12เดือนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคซึมเศร้าอีกถ้าหากหยุดทานยาจะทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่องส่งผลให้กลับมาเป็นโรคซึมเศร้าอีกแต่จะเป็นโรคซึมเศร้าชนิดเรื้อรังแทนและจะต้องทานยาไปตลอด แต่ก็มีหลายคนที่มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นเมื่อได้ทานยาชนิดนี้ไป
ผลข้างเคียงของการรักษาโรคซึมเศร้าโดยใช้ยาtricyclics ยาชนิดนี้ถือเป็นยาที่ถูกสั่งจ่ายมากให้แก่ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า โดยจะมีผลข้างเคียวคือ สายตาพร่ามัว วิงเวียนศีรษะ ปากแห้งคอแห้ง มีอาการท้องผูกมีปัญหาในเรื่องของการขับถ่ายปัสสาวะ และง่วงนอน
ผลข้างเคียงของการรักษาโรคซึมเศร้าโดยใช้ยากลุ่ม SSRI โดยยาชนิดนี้จะทำให้ปวดหัว รู้สึกคลื่นไส้ในบางครั้งและทำให้นอนไม่หลับรู้สึกกระวนกระวายใจแต่อาการนี้จะพบได้ใน3สัปดาห์แรกถ้าหากว่าเกิดอาการนี้นานเกินไปควรให้ไปปรึกษาแพทย์
- การรักษาทางจิตใจ จะเป็นการพูดคุยกับจิตแพทย์เพื่อเป็นการทำความเข้าใจกับผู้ป่วยเปิดรับสิ่งที่ผู้ป่วยกำลังคิดสงสัยและไม่เข้าโดยการรักษาทางจิตใจจะมีทั้งหมด3แบบคือ
2.1 การรักษาแบบปรับความคิดและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จะพูดคุยให้ผู้ป่วยคิดในทางที่ดีคิดในแง่ดีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ชอบอยู่คนเดียวไม่ชอบเจอผู้คน
2.2 การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ โดยเราจะต้องทำให้ผู้ป่วยมีการปรับตัวที่จะเข้ากับคนอื่นได้ ปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
2.3 การรักษาจิตบำบัดเชิงลึก อันนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงต้นเหตุของปัญหาต่างๆที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า