การลดความเครียดอิงสติ เมื่อความเครียดสามารถลดลงได้ด้วยสติ
เคยได้ยินหรือไม่เวลาที่เราเครียดแล้วชอบมีคนมาบอกว่าให้เรามีสติ ต้องบอกว่ามันเป็นเรื่องยากไม่น้อยเลยหากเราเผชิญกับความเครียดหรือความกังวลอยู่แล้วจะสามารถเรียกสติให้กลับมาได้ แต่ยิ่งเราไม่มีสติมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
ดังนั้นจึงได้เกิดวิธีการบำบัดความเครียดขึ้นมาที่นิยมใช้ในกลุ่มของเรานักจิตวิทยาหรือคนที่จะต้องรักษากลุ่มคนที่มีความเครียดนั่นก็คือวิธีการลดความเครียดอิงสติ วิธีการดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อให้คนที่เป็นทุกข์ ต้องเผชิญความเครียดหรือปัญหาชีวิตจนยากที่จะรักษาเบื้องต้นภายในสถานรักษาพยาบาล
อย่างเช่นในโรงพยาบาลให้สามารถรับมือกับปัญหาและความเครียดของตนเองได้ ได้รับการคิดค้นโดยศาสตราจารย์ดร.จอน คาแบต-ซินน์พี่ทำงานอยู่ในศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัย Massachusetts ในช่วงยุค 70 ด้วยการใช้วิธีการเจริญสติผสมผสานกับการตระหนักรู้ของร่างกายด้วยวิธีการโยคะเพื่อให้คนมีสติมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นบางครั้งยังมีวิธีการทางศาสนาอย่างเช่นการภาวนาหรือการเจริญกรรมฐานเข้ามาร่วมด้วยอีกด้วย
โดยรวมแล้วมันคือโปรแกรมที่มุ่งเน้นการเจริญสติ โดยจะเป็นการ workshop ยาวประมาณ 8 สัปดาห์ เป็นการประชุมครั้งละ 2 ชั่วโมง จะมีคอร์สปฏิบัติอยู่หนึ่งวันที่ยาวถึง 6 ชั่วโมงเลยทีเดียวโดยจะเกิดขึ้นประมาณครั้งที่ 6 หรือ 7 แล้วแต่รอบ ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการบ้านที่ผู้ป่วยจะต้องเอาไปทำอีกวันละ 45 นาที เทคนิคหลักจะประกอบไปด้วย 3 อย่างนั่นก็คือการเจริญสติ การไล่ความรู้สึกทั้งร่างกาย และการทำท่าโยคะ
การไล่ความรู้สึกทางกายนั้นจะเป็นการฝึกสติแบบยาวที่จะได้ทำเป็นอย่างแรกในช่วง 4 สัปดาห์แรก วิธีการคลอดข้างๆคือให้นอนราบลงไปแล้วใส่ใจไปที่ส่วนต่างๆของร่างกายต้องจ่ายนิ้วเท้าไปจนถึงศรีษะ เป็นการตระหนักรู้จากขณะไปสู่ขณะโดยที่ไม่มีการตัดสินว่าดีหรือชั่ว การเจริญสติแบบดังกล่าวนั้นเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับคนที่ปกติไม่สนใจเกี่ยวกับการทำกรรมฐานหรือการทำสมาธิ
มหาวิทยาลัยดังกล่าวได้ทำการผลิตบุคลากรที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถทำการฝึกการลดความเครียดอิงสติได้โดยกระจายไปทั่วทั้งสหรัฐอเมริกาและในต่างประเทศถึง 30 ประเทศเลยทีเดียว วิธีการดังกล่าวสามารถช่วยแก้ปัญหาทางสุขภาพได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นภาวะผิดปกติทางอารมณ์ โรควิตกกังวล โรคจากการใช้สารเสพติด โรคสมาธิสั้น โรคนอนไม่หลับ การรับมือกับปัญหาทางสุขภาพ ผลที่ได้นั้นปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงอยู่เนื่องจากมีหลายงานวิจัยแสดงหลักฐานว่ามันอาจจะช่วยบรรเทาอาการของกลุ่มคนป่วยและช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตได้แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่ามันจะช่วยรักษาโรคหรือป้องกันได้อย่างจริงจัง