ความดันโลหิตสูง โรคร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

ความดันโลหิตสูง โรคร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

 

อีกหนึ่งโรคที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุเมื่อเริ่มมีย่างเข้าสู่วัย 60 ขึ้นไปนั้น จะขาดโรคความดันโรหิตสูงไปไม่ได้ โรคนี้จัดเป็นอีกหนึ่งโรคที่มีตัวเลขทางสถิติอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่เข้าสู่วัยสูงอายุอย่างเต็มตัว สำหรับโรคนี้ไม่ใช่เป็นภัยกับแค่สังคมผู้สูงอายุในประเทศเท่านั้น แต่โรคนี้ยังมีอัตราการเกิดขึ้นถึงร้อยละ 25-30 ของผู้คนทั่วโลกเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามถึงแม้จะพบมากในผู้สูงอายุแต่โรคนี้ ก็สามารถเกิดขึ้นกับวัยอื่นได้เช่นกัน

โรคความดันโรหิตสูง เกิดจากความดันของโลหิตในร่างกายมีอัตราสูงมากในช่วงเวลาที่หัวใจบีบตัว โดยมีค่าเฉลี่ยที่จัดเป็นตัวเลขได้ประมาณ 130 -140 มิลลิเมตรปรอท ส่วนในช่วงหัวใจคลายตัว มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 80 – 90 มิลลิเมตรปรอท ถือเป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยแบบไม่ทันรู้ตัว หรือจนกว่าหมอจะตรวจพบ โดยปกติเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการมากมายนักในช่วงแรก แต่หากปล่อยไว้ให้มีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นเรื่อยๆนั้น ก็จะเกิดผลกระทบข้างเคียงต่างๆมากมาย เช่น หน้ามืด, เวียนศีรษะ, อาเจียน, และในบางรายอาจถึงขั้น มีเลือดกำเดา, และแน่นหน้าอกร่วมด้วย นอกจากนี้ โรคความดันโลหิตสูงนี้ ปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปต้นเหตุของการเกิดโรคได้อย่างแน่ชัด แต่เมื่อเป็นแล้วก็จะจัดอยู่ในกลุ่มโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาดและต้องคอยดูแลสุขภาพร่างกายตลอดชีวิตของผู้ป่วย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อสาเหตุของโรค

ถึงแม้จะไม่สามารถสรุปต้นเหตุของโรคนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์ต่างก็ลงความเห็นว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงมีดังนี้

–  อ้วน เมื่อมีน้ำหนักตัวที่มากส่งผลให้ภูมิต้านทานอ่อนแอลง เป็นผลให้เกิดโรต่างๆตามมา

–  เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นสาเหตุหลัก ของหลายๆโรคที่มีในปัจจุบัน

– อาหาร การรับทานที่มีไขมันสูงจำนวนมากๆ ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในเลือดก็จะส่งผลต่อโรคนี้เช่นกัน

วิธีการรักษา

เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรังไม่สามารถรักษาจนหายขาดได้ จึงทำได้เพียงประคับประคองไม่ให้มีอาการทรุดหนักลงไป ซึ่งปัจจุบันพบวิธีการรักษาโดยการใช้ยา ประเภทลดความดันและยารักษาโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ผู้รักษา ทั้งนี้ตัวยาอาจมีผลข้างเคียงบ้าง ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ และไม่ควรหยุดกินยาหรือเปลี่ยนยาเอง หากพบว่ามีผลข้างเคียงที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดหรือเปลี่ยนตัวยา นอกจากนี้ยังมียาบางตัวที่ใช้สำหรับการฉีดเพิ่มเติมนอกเหนือจากการกินอีกด้วย โดยแพทย์ผู้ดูและจะเป็นผู้ประเมินอาการและตัวยาก่อนจะให้ผู้ป่วยใช้ตามความเหมาะสมของอาการ

การดูแลตัวเอง

ในส่วนของโรคนี้นี้หากมีการดูแลตัวเองที่ดี มีระดับความดันอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ยา เพียงแต่ต้องมีการปรับพฤติกรรมต่างๆในการดำเนินชีวิตเมื่อรับรู้ว่าตนเองเป็นโรคนี้ โดยมีข้อแนะนำที่ควรทำดังนี้

– ออกกำลังกาย เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันที่ดีกับร่างกาย

-ควบคุมน้ำหนัก หากน้ำหนักตัวตัวมากเกินไปก็จะทำให้เกิดภาวะเสี่ยของโรคที่จะทรุดหนัก

– อาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำและรสไม่จัดเกินไป

– งดดื่มสุรา ตลอดจน งดสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของการทำลายสุขภาพ

– พักผ่อน อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ สำหรับโรคนี้คือผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน การพักผ่อนน้อย ส่งผลให้เกิดภาวะ กลารทรุดตัวของโรคความดันโลหิตสูงได้

ความดันโลหิตสูง โรคร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

ทั้งหมดทั้งมวลคือข้อมูลพื้นฐานสำหรับโรคความดันโลหิตสูง ตลอดจนแนวทางที่ควรปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคนี้ เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้ลูกหลานหรือสมาชิกในครอบครัว ควรช่วยกันดูแล ใส่ใจในด้านต่างๆ ให้เหมาะสม ก็จะเป็นการส่งเสริมสุขภาพไม่ให้โรคต่างๆที่มีทรุดลง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่ออาการกำเริบ มีความผิดปกติกับร่างกาย เช่น หน้ามืด วิงเวียน เขียนขาอ่อนแรง ใจสั่น ผู้ป่วยหรือคนในครอบครัวควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและปลอดภัย

 

 

 

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *