ป้องกันโรคกระดูกพรุน ทำอย่างไร

ป้องกันโรคกระดูกพรุน ทำอย่างไร

โรคกระดูพรุนนั้นเกิดจากแร่ธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในกระดูกนั้นน้อยลง โดยเฉพาะระดับแคลเซียม ซึ่งจะเป็นไปตามเวลาของร่างกายมนุษย์ เราจึงพบเห็นได้มากในคนที่อยู่ในวัยชรา ส่วนต่างตามร่างกายที่มักเกิดอาการกระดูกพรุนก็อย่างเช่น ข้อมือ, สะโพก และกระดูกสันหลังเป็นต้น

การป้องกันโรคกระดูกพรุน

  1. ต้องให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ อาหารที่มีแคลเซียมสูงก็อย่างเช่น นม, ปลา, ถั่วแดง และงาดำ รวมไปถึงผักสีเขียวอย่าง คะน้า หรือ ใบชะพรู เป็นต้น

แนวทางป้องกันนั้นในเด็กหรือวัยรุ่นควรจะหมั่นดื่มนมเป็นประจำ วันละ 2 – 3 แก้ว ส่วนผู้สูงอายุควรจะดื่มวันละ 1-2 แก้ว ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว

 ในส่วนของผู้ที่มีโรคประจำตัวไม่ว่าจะเป็นเพราะโรคไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน, โรคอ้วน, ความดันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ก็ให้ดื่มนมเปรี้ยว หรือนมแบบพร่องมันเนย หรือจะเลือกทานอาหารที่ให้แคลเซียมสูงในมื้ออาหารแทนก็ได้

2 . ออกกำลังกายเป็นประจำเช่นการจ๊อกกิ้ง เดิน เต้นโรบิก ปั่นจักรยาน แล้วเล่นเวทเสริม จะช่วยทำให้ร่างกายสร้างมวลกระดูกเพิ่มมากขึ้น 

  1. รับแสงแดดยามเช้า 10-15นาที แสงแดดจะช่วยให้ร่างกานมีวิตามินดีเพิ่มขึ้น ส่งผลในเรื่องการเสริมสร้างกระดูก ที่แนะนำให้รับแดดยามเช้าเพราะแดดช่วงกลางวันบ้านเรามันร้อนเหลือเกิน และทำสัปดาห์ละ 3 วันก็พอแล้ว
  2. อย่าผอมมากไป เพราะยิ่งผอมมวลกระดูกก็ยิ่งลดลง ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่าย

 

พฤติกรรมที่ไม่ควรทำหากไม่อยากเป็นโรคกระดูกพรุน

อย่าทานเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ถึงแม้จะให้โปรตีน แต่ไปกระตุ้นไตให้ขับแคลเซียมทางปัสสาวะมากผิดปกติ

ลดเค็มลง เพราะอาหารที่มีรสเค็ม หรืออาหารทีมีโซเดียมปริมาณสูง ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซี่ยมได้อย่างไม่เต็มที่ แถมยังทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้นโดยการขับแคลเซียมออกมา

ลดการดื่มน้ำอัดลม เพราะในน้ำอัดลมมีกรดที่ชื่อว่า ฟอสฟอริก ที่ส่งผลให้แคลเซียมในกระดูกถูกทำลายได้ง่ายขึ้น

 

ป้องกันโรคกระดูกพรุน ทำอย่างไร

 

ลด การดื่มเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ รวมไปถึงชา กาแฟ และช็อกโกแลต เพราะในเครื่องดื่มเหล่านี้ จะไปลดการดูซึมแคลเซียมในร่างกาย โดยการดื่มชา กาแฟ ไม่ควรเกินวันละ 3 แก้ว ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ควรจะเกิน 2 หน่วย

ลดการสูบบุหรี่ (เลิกได้ก็ยิ่งดี) เพราะบุหรี่คือตัวการทำให้แคลเซียมในกระดูกถูกสลายเพิ่มขึ้น (รวมไปถึงการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ด้วย)

 

พิจารณาการใช้ยาบางชนิดที่ไปเร่งให้ร่างกายขับแคลเซียมเร็วขึ้น โดยเฉพาะยาประเภทสตีรอยด์

 

 

 

 

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *