สายพันธุ์โควิด  19

สายพันธุ์โควิด  19

 

 

            ประเทศไทยตอนนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เริ่มมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกแล้ว หลังจากที่มีข่าวออกมาว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกๆวัน จนยอดตัวเลขได้กลายไปแตะอยู่ที่หลักหมื่นกันแล้ว ซึ่งอย่างที่ทราบว่าเชื้อโรคไวรัสชนิดนี้ หรือที่เรียกมันว่า “โควิด – 19” มันแพร่กระจายไปตามอากาศรวดเร็วอย่างมาก ทำให้บุคคลที่อยู่ในพื้นที่ระแวกนั้น หรือบริเวณที่มีแหล่งเชื้ออยู่ สามารเข้าถึงเราได้ง่ายนั่นเอง แม้จะมีการฉีดวัคซีนไปบ้างแล้ว แต่การป้องกันก็ยังไม่ได้แน่ชัด 100% เพราะว่ายังมีบางกลุ่มที่ติดเชื้อเพิ่มหลังจากที่มีการฉีดวัคซีน แต่อาการไม่ได้รุนแรงอะไรมากต่างกับคนที่ยังไม่ฉีด ซึ่งอย่างที่ทราบว่าโควิด – 19 เป็นเชื้อโรคระบาดที่มาจากสายพันธุ์ของประเทศจีนหรือเมืองอู่ฮั่น มาแพร่กระจายในประเทศไทย ที่สามารถติดได้ทั้งคนและสัตว์ และหลายๆคนก็คงอยากจะทราบกันแล้วใช่ไหมล่ะ ว่าจริงๆแล้วเชื้อโควิด – 19 นี้มีทั้งหมดกี่สายพันธุ์ นั้นเราไปดูกันเลยดีกว่า!

 

 

            โดยทางกรมอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาเผยข้อมูลว่าตอนนี้สามารถตรวจพบได้ว่า เชื้อโควิด – 19 มีการแพร่เชื้อกระจายไปทั่วโลก แถมยังมีการขยายแตกสายพันธุ์ใหม่ ที่สร้างความน่ากลัว และความอันตรายที่มาถึงแก่ชีวิตของคนเราได้อย่างรวดเร็วและไม่รู้ตัวกันอีกด้วย ซึ่งสายพันธุ์ที่ตรวจสอบได้นั้นก็จะมีความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะมีดังนี้

  • สายพันธุ์อินเดีย : แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ย่อยคือ 1.617.1 และ B.1.617.2 พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และได้กระจายไปแพร่ประเทศใกล้เคียงและประเทศอื่นๆอย่างรวดเร็ว ความน่ากลัวสายพันธุ์นี้จะแพร่เชื้อได้เร็วถึง 60% และเร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษ
  • สายพันธุ์บราซิล : มีสายพันธุ์ย่อยคือ P.1 ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น จากนักท่องเที่ยวชาวบราซิล เป็นสายพันธุ์ที่น่ากลัวมาก คือสามารถติดซ้ำได้จนเสียชีวิตในที่สุด แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วกกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมมากถึง 25 – 60%
  • สายพันธุ์อังกฤษ : มีสายพันธุ์ย่อยคือ B.1.1.7 พบครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ มีการติดต่อได้อย่างง่ายและมีความรุนแรงอย่างมาก จับเซลล์ผิวในการแพร่เชื้อได้ดี สามารถแพร่เชื้อได้เร็วประมาณ 40% ขึ้นไป

 

 

สายพันธุ์โควิด  19

 

  • สายพันธุ์แอฟริกาใต้ : มีสายพันธุ์ย่อยคือ V2 หรือ .1.351 พบครั้งแรกที่อ่าวเนลสันแมนเดลา เป็นเชื้อที่มีการกลายพันธุ์และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วมากกว่า 50% ลดประสิทธิภาพของแอนติบอดี ทำให้ติดเชื้อจากผิวเซลล์ภายนอกได้อย่างรวดเร็ว
  • สายพันธุ์เบงกอล : มีสายพันธุ์ย่อยคือ B.1.618 ความร้ายแรงของเชื้อไวรัสสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ มีอาการที่รุนแรงและติดเชื้อเร็วอย่างมาก
  • สายพันธุ์อื่นๆ : มีสายพันธุ์ย่อยคือ 1.36.16 เป็นเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว แต่ไม่แสดงอาการ พบครั้งแรกที่เมียนมา

 

 

 

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *