สุคนธบำบัด การบำบัดด้วยกลิ่นที่มีทั้งประโยชน์และข้อจำกัด
ปัจจุบันนี้ความรู้ทางการแพทย์นั้นได้พัฒนาก้าวหน้าไปทุกวัน เราจะเห็นว่ามีวิธีการรักษาโรคในแบบต่างๆ เพิ่มมากยิ่งขึ้น บางอย่างก็เป็นแบบที่เรารู้จักอยู่แล้ว บางอย่างเราก็ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะในส่วนของการบำบัดที่มีความพยายามคิดค้นนำเอาสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันมาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อช่วยบำบัดให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สี ใช้เพลง หรืออย่างที่เราจะมาแนะนำกันในวันนี้ก็คือการใช้กลิ่นนั่นเอง เป็นวิธีการบำบัดที่มีชื่อเรียกว่าสุคนธบำบัดหรือที่เรารู้จักกันในอีกชื่อนึงว่าอโรมาเทอราพี
เป็นวิธีการที่ค่อนข้างได้รับความนิยมในปัจจุบันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมการใช้ชีวิตของเราทุกวันนี้เต็มไปด้วยมลพิษจนส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของเราให้ย่ำแย่ลง เราแทบจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารเคมีและสารพิษในชีวิตประจำวันได้เลย มันทำให้เราเต็มไปด้วยความเครียดและความหงุดหงิด สิ่งที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลายจากสิ่งเหล่านี้ได้ก็คือสารสกัดจากธรรมชาติอย่างเช่นน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นหอมและเป็นธรรมชาตินั่นเอง สุคนธบำบัดจึงเป็นการบำบัดด้วยการใช้กลิ่นหอม แต่จะต้องเป็นกลิ่นหอมจากธรรมชาติโดยสามารถแบ่งได้เป็นกลิ่นหอมของดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมอย่างเช่นดอกลาเวนเดอร์ มะลิ โรสแมรี่ กระดังงาเป็นต้น ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมแทบทุกชนิดสามารถนำเอามาสกัดเป็นกลิ่นได้ทั้งหมด และอีกอย่างนึงคือมาจากพืชที่มีกลิ่นอย่างส้ม มะกรูด ตะไคร้หอม อบเชย กานพลู
สุคนธบำบัดเป็นวิธีการบำบัดที่เต็มไปด้วยประโยชน์มากมายเนื่องจากมันจะเข้าไปช่วยกระตุ้นประสาทการรับรู้กลิ่นผ่านต่อมรับหินที่อยู่ภายในจมูกของเรา จากนั้นมันก็จะทำการส่งสัญญาณประสาทเข้าสู่สมอง สมองก็จะทำการแปลผลออกมาเป็นความรู้สึกแล้วส่งกลับไปให้ร่างกายตอบสนองต่อกลิ่น การบำบัดดังกล่าวค้นพบว่าช่วยให้ผู้ที่ได้รับการบำบัดรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ
ช่วยลดความเครียดได้เป็นอย่างดี ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้น บังกลิ่นอย่างเช่นกลิ่นสมุนไพรทั้งอบเชยราชการสามารถลดจำนวนเชื้อไวรัสและแบคทีเรียบางชนิดได้ ช่วยให้จมูกโล่งและช่วยละลายเสมหะ ทำให้หลับสบาย ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ แต่ข้อควรระวังก็คือไม่ควรใช้การบำบัดร่วมกับเด็กเล็กโดยเฉพาะที่มีอาการแพ้ที่ผิวหนัง
ไม่ควรบำบัดให้สตรีมีครรภ์เนื่องอาจจะทำให้เกิดอาการผิดปกติได้ยิ่งใช้กลิ่นที่มีฤทธิ์ในกระตุ้นยิ่งมีความเสี่ยงสูง ไม่ควรบำบัดกับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย ผู้ป่วยลมชัก ผู้ป่วยโรคหืดหอบ ไม่เพียงเท่านั้นยังต้องทำการศึกษาประวัติความเป็นมาของผู้เข้ารับการบำบัดให้ดีไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้กลิ่นบางกลิ่นไปกระตุ้นความทรงจำหรือประสบการณ์ที่แย่บางอย่างให้กลับมาได้
ดนตรีบำบัด กิจกรรมคลายเครียดที่ช่วยรักษาผู้ป่วยได้