อยู่ไม่นิ่ง พฤติกรรมที่ควรเฝ้าระวัง
เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยได้ยินพฤติกรรมลักษณะนี้ เพราะมีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งสามารถเรียกได้อีกชื่อว่า “โรคสมาธิสั้น” โรคนี้มักจะเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก มีการสำรวจจากกรมสุขภาพจิตพบว่าเกิดขึ้นในเด็กอายุ 6-15 ปี ซึ่งในประเทศไทยมีคนเป็นโรคชนิดนี้ถึงสี่แสนคน และสัญญาณยังบ่งชี้ได้ว่าอัตราการเป็นโรคชนิดนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเราพูดกันในเรื่องเพศ ผลปรากฏว่าเด็กผู้ชายเป็นมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 2 เท่า
โรคสมาธิสั้น คือ โรคที่เกี่ยวกับภาวะทางจิต เกี่ยวข้องกับสมองโดยตรง อาการของโรคจะส่งผลในเรื่องของการเคลื่อนไหว อยู่ไม่นิ่ง ซุกซนตลอดเวลา วอกแวกง่าย ถ้ามีอะไรมารบกวนจะให้เด็กสูญเสียการโฟกัสไปโดยปริยาย ผลที่ตามมาคือเรื่องของการเรียน เด็กจะเรียนไม่รู้เรื่อง ขาดการรับผิดชอบ โดยปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นกับเด็กก่อน 7 ขวบโดยมาก แต่หลังจาก 7 ขวบ ปัญหาจะแสดงให้เห็นชัดมากขึ้น เพราะภาระหน้าที่เด็กจะมากขึ้นและตรงนี้จะเป็นตัวชี้วัดที่ดีเลยว่าเด็กทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ในเรื่องการเข้าสังคมก็มีผลเช่นเดียวกัน การปรับตัวเข้าหาคนอื่น การกิจกรรมร่วมกัน เด็กที่มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งจะทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
อาการของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น สามารถสังเกตได้ดังนี้
- ไม่มีสมาธิในการเล่นหรือทำกิจกรรมใด ๆ
- เวลาเป็นผู้ฟัง จะจับใจความที่ผู้พูดสื่อไม่ค่อยได้ หรือหากผู้พูดออกคำสั่งให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เด็กจะทำได้ไม่ครบ
- มีปัญหาในการจัดการแบบระบบ เรียบเรียงความคิดไม่ค่อยถูก เรียบเรียงลำดับความสำคัญไม่ค่อยถูก
- ใม่ชอบทำการบ้าน ในข้อนี้หลายคนอาจเห็นต่างว่าส่วนใหญ่เด็กไม่ชอบทำการบ้านทั้งนั้น แต่การบ้านที่หมายถึงคือการบ้านที่ต้องใช้ความคิด
- ชอบวอกแวกไปกับสิ่งเร้าตลอดเวลา เช่น กำลังนั่งครูอธิบายงาน แต่เมื่อได้ยินเสียงเพลงก็เคลิ้มตามเสียงไป จนมาได้ฟังที่ครูสอน
- มีปัญหาในการรอคอยหรือการเข้าคิว
- พูดมากตลอดเวลา พูดไม่หยุด ขนาดมีคนคอยห้ามก็ยังพูดต่อ
- วิ่งไปมาตลอดเวลา นั่งหรือยืนอยู่กับที่นาน ๆ ไม่ค่อยได้ ต้องทำอะไรที่เคลื่อนไหวตลอด
อาการดังกล่าวเป็นเพียงอาการพื้นฐานที่ผู้ปกครองสามารถใช้เพื่อสังเกตลูก ๆ ได้ อาการโรคสมาธิสั้นสามารถเกิดขึ้นแบบชนิดร้ายแรง ซึ่งเด็กต้องไปพบจิตแพทย์และให้จิตแพทย์ทำการวินิจฉัยโรคว่าอยู่ในระดับไหน ต้องมีการปรับพฤติกรรมและรับประทานยาร่วมด้วย ในการรักษาต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งจิตแพทย์ไม่สามารถบอกได้ว่านานเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับตัวเด็กและสภาพแวดล้อม
อยู่ไม่นิ่ง พฤติกรรมที่ควรเฝ้าระวัง