อัลไซเมอร์ โรคยอดนิยมของผู้สูงอายุ
ปัจจุบันประเทศไทย เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมในระดับสูงเลยทีเดียว โดยในแต่ละปีจะมีอัตราการก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10% เลยทีเดียว ซึ่งอัตราเหล่านี้ไม่ได้มีเพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอีกหลายประเทศทั่วโลกเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ในปัจจุบันมาตรการออกมามากมายเพื่อรับมือถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ยิ่งใหญ่นี้ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสวัสดิการสังคม, การทำงาน, การสนับสนุนอื่นๆจากภาครัฐ และที่สำคัญ คือการดูแลทางด้านสาธารณะสุข ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้กับสังคมผู้สูงอายุอย่างแน่นอน
เมื่อกล่าวถึงวัยที่มากขึ้นหรือก้าวเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุนั้น สิ่งหนึ่งจะมาเป็นของคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นก็คือ โรคภัยไข้เจ็บ เนื่องจากปัจจัยหลายๆด้านรวมกัน ส่งผลให้กลุ่มผู้สูงอายุนั้นเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ การเตรียมพร้อมรับมือจากเหตุเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่งทั้งจากคนในครอบครัวหรือตัวผู้สูงอายุเองก็ควรดูแลตัวเองให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ หรือง่ายต่อการเจ็บป่วย อันจะเป็นบ่อนทำลายสุขภาพให้อ่อนแอลงเรื่อย ๆ นั่นเอง
อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่วัยนี้ ภูมิคุ้มกันที่มีก็จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ถึงแม้จะดูแลป้องกันดีอย่างไร แต่ความเจ็บป่วยนั่นก็เป็นอะไรที่ห้ามยาก ดังนั้นสิ่งสำคัญในลำดับต่อมาเมื่อไม่สามารถป้องกันได้แล้ว ก็ควรที่จะเรียนรู้เพื่อทำความรู้จักหลายๆ โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นที่จะส่งสัญญานออกมา ซึ่งจะเป็นผลให้นำพาไปสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันท่วงที การรู้เร็ว รักษาได้เร็ว ก็จะส่งผลให้อาการไม่ทรุดหนัก หรือรุนแรงและใน บางโรคอาจมีโอกาสที่จะหายเป็นปกติได้อีกด้วย
อัลไซเมอร์ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่มีผลมาจากระบบประสาทและสมอง เกิดความเสื่อมสภาพจากการใช้งานของเซลล์ในสมอง หรือในบางกรณีสมองอาจเริ่มหยุดทำงาน ส่งผลให้ทักษะความรู้ความเข้าใจตลอดจนความทรงจำต่างๆที่มี เลือนหายหรือเสื่อมลงไป ทั้งนี้หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว ก็อาจจะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถจดจำอะไรได้อีกเลย ทั้งนี้พบว่าผู้สูงอายุจะเริ่มมีภาวะของโรคนี้ เมื่ออายุเข้าสู่ช่วง 65 ขึ้นไป โดยมีอัตราผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคนี้ อยู่ที่ ร้อยละ 10 -15 เลยทีเดียว
อาการที่พบอัลไซเมอร์
โรคนี้มักแสดงอาการที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนคือผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหากับความทรงจำ ถามคำถามเดิมซ้ำๆ ย้ำคิดย้ำทำ หาของไม่พบ เริ่มส่งผลต่อกิจกรรมต่างๆของดำเนินชีวิตประจำวัน บางหลาย อาจมีปัญหาทางด้านอารมณ์ร่วมด้วย ทั้งอาการไม่รับรู้สิ่งต่างๆ หรืออาจจะเกรี้ยวกราดอารมณ์ร้าย เมื่อหนักเข้าบางรายอาจถึงขั้นหนีออกจากบ้านแล้วไม่สามารถหาทางกลับได้อีกเลย ทั้งนี้นอกจากปัญหาทางด้านความจำต่างๆแล้ว เมื่อเกิดภาวะทางอารมณ์ที่ผิดปกติมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มเข้ามาอีกด้วย
ปัจจัยที่ส่งผลอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์ มีปัจจัยหลายๆอย่างด้วยกันที่สามารถส่งผลกระทบต่อการเกิดของโรคนี้ ทั้งอายุ, พันธุกรรม, พฤติกรรมที่เคยทำในช่วงที่ผ่านมา ตลอดจนการประสบอุบัติเหตุแล้วได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง ก็อาจจะกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอัลไซเมอร์อีกด้วย
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
- งดการดื่มสุรา ซึ่งถือเป็นต้นเหตุหลักๆของการเกิดโรค
- ดูแลเรื่องยาที่ต้องรับประทานเป็นพิเศษ โดยยาที่ใช้ไม่ควรมีสารที่ส่งผลอันตรายต่อสมอง
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยป้องกันได้อีกทางหนึ่ง
- หาอะไรทำเพื่อเป็นการฝึกฝนสมอง เช่นอ่านหนังสือ, เข้าวัด, ทำสมาธิ, คิดเลข ตลอดจนการฝึกใช้สมาร์ทโฟนก็สามารถช่วยได้เช่นกัน
- ดูแลสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ เนื่องจากบุคคลวัยนี้ไม่ควรเครียดจนเกินไป
- พบปะและพูดคุย ข้อนี้บุคคลในครอบครัวควรให้ความร่วมมือ อย่าเบื่อที่จะพูดคุยกับผู้สูงอายุในบ้าน
- สำคัญที่สุดคือการพบแพทย์ตามเวลานัด อีกทั้งควรตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เมื่อพบเหตุผิดปกติของร่างกาย
การรักษาอัลไซเมอร์
ในส่วนของวิธีการรักษานั้น ปัจจุบันอาจจะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ทั้งหมดแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรได้รับการรักษาเพื่อบรรเทาอาการความรุนแรงของโรค โดยสามารถรักษาได้หลากหลายวิธีดังนี้
- ผ่าตัด การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดนี้ใช้ในกรณีที่อาจจะมีภาวะเนื้องอกหรือแผลต่างๆที่เกิดขึ้นกับสมองของผู้ป่วยแล้วส่งผลให้เกิดโรคนี้ แต่อย่างไรก็ตามหากไม่ได้มีเนื้องอกหรือแผลต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีนี้
- ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและเข้ารับการบำบัด รวมถึงปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยและผู้ดูแล การรักษาด้วยวิธีนี้ ใช้ในกรณีที่อาการไม่รุนแรงมากเท่าไร โดยการพบแพทย์ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ ทั้งกับผู้ป่วยและผู้ดูแล นอกจากนี้คนในครอบครัวควรขอคำแนะนำถึงการดูแลที่ถูกวิธี และการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมกับเรื่องอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย รวมถึงการพาผู้ป่วยเข้ารับการบำบัด ทั้งการกระตุ้นทางด้านร่างกาย สมอง ตลอดจนการบำบัดทางด้านจิตใจ และอารมณ์ ก็สำควรทำและสำคัญไม่แพ้กัน
- การใช้ยาร่วม หากอาการเริ่มรุนแรง ผู้ป่วยควรใช้วิธีการรักษาในข้อ 2. ร่วมกับการใช้ยา
ในข้อ 3. ทั้งนี้ปัจจุบันมียาที่สามารถใช้เพื่อประคองอาการไม่ให้ทรุดหนัก รวมถึงบรรเทาการเสื่อมสภาพของเซลล์สมอง ทั้งนี้การรับยาควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลอาการเฉพาะทางและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด นอกจากยาที่ใช้รักษาทางด้านสมองแล้ว ผู้ป่วยในโรคนี้ อาจจะต้องรับยาที่ช่วยบรรเทาความผิดปกติทางด้านอารมณ์ควบคู่ไปด้วย
ปัจจุบันแม้โรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีวิธีป้องกัน ตลอดจนการรักษาอีกมากมายเพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรค อย่างไรก็ตามสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคนี้ ให้ความร่วมมือและเอาใจใส่ ในการดูแลรักษาโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น ตลอดจนถึงมีความเข้าใจในสภาวะทางอารมณ์ของผู้ป่วยที่เกิดขึ้น ที่สำคัญคือการพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อรักษาให้ทันเวลา โดยไม่ปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีอาการที่ดีขึ้น สุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจส่งผลต่อบรรยากาศที่ดีของสมาชิกทุกคนภายในครอบครัว