อาการปวดกระบอกตา
เคยเป็นกันไหมคะ จู่ ๆ ก็มีอาการปวดเบ้าตา รู้สึกตื้อ ๆ บริเวณกระบอกตา จนรู้สึกตึง ๆ บริเวณดวงตา กรณีแบบนี้เราควรสังเกตอาการตัวเองให้ดีค่ะ ว่าเป็นอาการเจ็บตาซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคเกี่ยวกับดวงตา หรือมาจากอาการปวดศีรษะที่ส่งผลมาถึงกระบอกตา และหากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง สูญเสียการมองเห็น สูญเสียการรับความรู้สึกหรือการเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
การปวดบริเวณศีรษะและกระบอกตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างนี้เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็น
- ไมเกรน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความดันทำให้ลูกตาจะสูงๆอาจมีอาการอื่นอยู่ด้วย เช่น เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ หนังตาตก ฯลฯ
- ไซนัสอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือไวรัสบริเวณโพรงอากาศข้างจมูก ทำให้เกิดอาการบวมขึ้นที่บริเวณดังกล่าว จึงอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงแรงกดบริเวณด้านหลังดวงตา ในกรณีนี้ผู้ป่วยจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูกมาก คัดจมูก ปวดศีรษะ ฯลฯ
- เส้นประสาทตาอักเสบ อาจมีสาเหตุมาจาก โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือการติดเชื้ออื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการบวมหรืออักเสบที่ด้านหลังดวงตาจนเส้นประสาทตาเสียหาย ในกรณีนี้อาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นได้
และอีกหลายสาเหตุมากมายไม่ว่าจะเป็น โรคเกรฟส์ , ปัญหาสุขภาพปากและฟัน ฯลฯ
เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง ในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติสุขภาพ และตรวจร่างกายผู้ป่วย หรือหากว่าข้อมูลเบื้องต้นยังไม่มากพอ ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติม ในส่วนต่าง ๆ เช่น การตรวจความปกติของตา , การส่องกล้อง ตรวจในโพรงจมูก การทำ MRI Scan , หรือหากเกิดจากการปวดฟัน ก็จะได้ดำเนินการส่งผู้ป่วยต่อให้กับแพทย์เฉพาะทาง เป็นต้น
เมื่อพบสาเหตุแล้ว แพทย์จึงจะดำเนินการรักษา เช่น หากอาการดังกล่าวเกิดจาก การปวดศีรษะ แพทย์จะจ่ายยาประเภท เช่น พาราเซตามอล ฯลฯ ให้กับผู้ป่วย กรณีที่เกิดจากไซนัสอักเสบ แพทย์ต้องทำการรักษาโรคไซนัสก่อนจึงจะช่วยให้อาการปวดศีรษะดีขึ้นได้ โดยการล้างจมูกด้วยสารละลายน้ำเกลือจะช่วยลดอาการบวมและคัดหรือการจ่ายยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าสาเหตุของอาการปวดกระบอกตานั้น มาจากหลายสาเหตุเลยล่ะค่ะ และหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญของการรักษาก็คือการวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสมนั่นเองค่ะ เพราะฉะนั้นหากตอนนี้คุณมีอาการข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ลองสังเกตตัวเองให้ดี และให้ความร่วมมือกับแพทย์ในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องค่ะ