อาการปวดตามข้อนิ้วมือ
ปัจจุบันโลก Social Media นั้นมีผลกระทบในชีวิตประจำวันของคนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากสื่อออนไลน์จากทุก Platform ไม่ว่าจะเป็นข่าวหรือสื่อบันเทิงจาก Facebook จาก YouTube หรือแม้กระทั่งจากช่องทาง Social Media อื่น ๆ ที่มีอยู่นั้น ทำให้การเสพติดเนื้อหาจากสื่อเป็นสิ่งที่ง่ายยิ่งขึ้นผ่าน Smartphone ที่อยู่ในมือเรา อะไรก็ตามที่ได้มาง่าย ๆ มันก็ย่อมส่งผลเสียได้ง่าย ๆ เช่นเดียวกัน อย่างเช่นเรื่องสุขภาพที่เกิดขึ้น ทั้งนี้บุคคลที่ติดโทรศัพท์นั้นจะเกิดอาการทางสุขภาพที่แตกต่างกันออกไป แต่อาการสุขภาพดังต่อไปนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ใช้โทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาการนั้นก็คือ การปวดตามข้อนิ้วมือนั่นเอง
อาการปวดตามข้อนิ้วมือนี้เกิดขึ้นได้เมื่อเราเล่นโทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน ๆ ทำให้น้ำหนักของ Smartphone นี้เองที่ไปกดทับกล้ามเนื้อบริเวณข้อนิ้วมือ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกกดทับนี้มีเลือดจากร่างกายไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อตามข้อนิ้วมือไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการชาและปวดขึ้นได้ และให้เกิดเมื่อเล่นไปในระยะเวลาที่นาน ๆ และต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายเดือนจนเป็นนิสัย ก็จะมีอาการปวดสะสมที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจร้ายแรงถึงขั้นไปพบแพทย์กันเลยทีเดียว นั้นว่าเรื่องอาการปวดตามข้อนิ้วมือนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเป็นอย่างมาก วันนี้เราจึงจะมีการแนะนำการนวดหรือบริหารนิ้วมือให้สามารถกลับมาเป็นปกติ ได้ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเลย
ลักษณะของอาการปวดตามข้อนิ้วมือ
เกิดความรู้สึกซาบซ่า มีอาการชาตามบริเวณนิ้วเมื่อเกิดการหดตัวและคลายตัวของนิ้วมีอาการปวดชา ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเล่นโทรศัพท์ที่ผิดวิธี หรืองานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือเป็นระยะเวลาที่นานติดต่อกัน
แรงในการยึดจับสิ่งของนั้นมีปริมาณที่น้อยลง ไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน หยิบจับสิ้งของอะไรก็มักจะทำตกตลอดเวลาและบ่อยครั้ง
การรักษาอาการปวดตามข้อนิ้วมือ
การรักษาขึ้นกับอาการ ความรุนแรง และระยะเวลาที่เป็นโรค โดยในเบื้องต้นควรที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุของโรค เช่น หลีกเลี่ยงการทำงานที่ใช้ข้อมือนิ้วมือมากและซ้ำ ๆ หลีกเลี่ยงงานที่จะมีการสั่นสะเทือนของมือ พักการใช้มือและแขน อาจต้องใช้เฝือกดามชั่วคราวเพื่อพักแขน
การรักษาทางการแพทย์แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 กลุ่ม ดังนี้
- การรักษาแบบไม่ผ่าตัด (non operative treatment)
1.1 การใช้ยาในการรับประทาน
ใช้ยาประเภทลดอาการของการอักเสบโดยที่ตัวยานั้นปราศจากสารสเตียรอยด์
1.2 การฉีดยา Steroid เข้าสู่ร่างกาย
การฉีดยาสเตียรอยด์ มีจุดประสงค์เพื่อให้สารสเตรียรอยด์เข้าไปทำหน้าที่ในการลดการอักเสบของชกล้ามเนื้อโดยตรง และชะลอการบวมของเส้นประสาทมีเดียน
- การรักษาแบบผ่าตัด (operative treatment)
2.1 การผ่าตัดเปิดแผลตามปกติ (Open carpal tunnel release)
คือการผ่าตัดเปิดแผลบริเวณข้อมือ
2.2 การผ่าตัดเปิดแผลขนาดเล็ก (Limited incision technique)
คือ การผ่าตัดที่ทิ้งรอยไว้เล็กมาก
2.3 การผ่าตัดด้วยกล้อง (Endoscopic release)
ใช้มีดตัดเนื้อเยื่อที่เกาะกันอย่างแน่นหนา โดยเราเรียกว่า พังผืด ในบริเวณข้อนิ้วมือ เมื่อผ่าตัดด้วยวิธีนี้ส่วนใหญ่แผลจะหายเองภายใน 7 วัน