อาการ ของเชื้อโควิด-19 กับการ เป็น หวัด ธรรมดาต่างกันอย่างไร
รู้จักความแตกต่างระหว่าง อาการ โควิด-19 กับการ เป็น หวัด ธรรมดา
เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 (Covid-19) ถือเป็นเชื้อไวรัสที่สร้างผลกระทบไปทั่วโลกนับตั้งแต่พบการแพร่ระบาดครั้งแรกที่ประเทศจีนเมื่อช่วงปลายปี 2019 จนก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจไปทั่วโลก แถมคนส่วนใหญ่ยังมักจะสับสนระหว่าง อาการ ของ โควิด-19 กับ ไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาล เนื่องจากทั้งสองโรคนี้มีอาการหลายอย่างที่คล้ายกันจนแทบแยกไม่ออก ทำให้หลายคนชะล่าใจไม่ไปตรวจหาเชื้อ เพราะคิดว่าเป็นเพียงไข้หวัดใหญ่ธรรมดา กว่าที่จะรู้ตัวอีกทีเชื้อร้ายก็ลุกลามจนทำลายอวัยวะสำคัญไปแล้ว
เมื่อเรา เป็น หวัด ธรรมดา หรือไข้หวัดประจำฤดูประมาณ 30 – 80% มักเกิดจากเชื้อไวรัสไรโน (Rhinovirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับจมูกและทางเดินหายใจ ส่วนไข้หวัดอีก 10 – 15% มักเกิดจากไวรัสโคโรนา แต่เป็นเชื้อไวรัสที่พบได้ทั่วไป และมีมานานแล้ว โดยมีการค้นพบเชื้อไวรัสโคโรนาที่ติดต่อในมนุษย์ถึง 6 สายพันธุ์ แต่สำหรับเจ้าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ที่แพร่ระบาดจนหลายประเทศถึงขั้นต้องปิดประเทศนั้น ถือเป็นไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ที่ 7 ที่มีการค้นพบใหม่ โดยว่ากันว่าติดต่อจากสัตว์ปีกอย่าง “ค้างคาว” มาสู่มนุษย์
สำหรับ การ เป็น หวัด ธรรมดา ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการรุนแรง เช่น มีไข้, ปวดเนื้อปวดตัว , ไอ-จาม, น้ำมูกไหล, หายใจไม่สะดวก เป็นต้น โดยผ่านไป 3 – 4 วัน อาการก็จะเริ่มดีขึ้น เนื่องจากร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานจนเอาชนะเชื้อหวัดได้
แต่สำหรับอาการของโรคโควิด-19 แม้ช่วงแรก ๆ อาจจะมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้, ไอ, มีเสมหะ และ อาการปวด เมื่อยตามร่างกาย แต่ส่วนใหญ่แล้วหลังจากนั้นจะมี อาการ รุนแรงขึ้นตามลำดับ เช่น ไข้สูงมากกว่า 37.5 องศา, ตัวร้อนท้องเสีย , ไอ-เจ็บคอนานติดต่อกันเกิน 4 วัน, ไม่รับรู้รสชาติ, ไม่รับรู้กลิ่น, คลื่นไส้-อาเจียน ไปจนถึงอาการปอดอักเสบ หายใจลำบาก เป็นต้น
วิธีการป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคที่ดีที่สุดก็คือ การสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกไปที่สาธารณะ รวมถึงการล้างมือบ่อย ๆ ส่วนการรับประทานอาหารก็ควรเน้นอาหารที่ให้สารอาหารประเภท วิตามินซี, วิตามินดี และแร่ธาตุสังกะสี เพื่อเป็นการเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง ทั้งนี้ การ เป็น หวัด ธรรมดาจะไม่มีโรคแทรกซ้อนรุนแรง และไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก แถมอาการยังมีความรุนแรงต่ำ เพียงแค่ดูแลร่างกายและพักผ่อนให้เพียงพอก็สามารถหายได้เองภายใน 3 – 4 วัน แต่สำหรับโรคโควิด-19 มักพบโรคแทรกซ้อนจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น เบาหวาน หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสเสียชีวิตมากขึ้น