เครียดสะสม
ภาวะเครียดสะสมเป็นหนึ่งสภาวะที่ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็ตามล้วนสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ โดยส่วนมากมักจะเกิดขึ้นกับช่วงอายุวัยรุ่น โดยมีปัจจัยในเรื่องของความกดดันที่เกิดขึ้นในชีวิตของตัวเองจนมีความคิดซ้ำไปซ้ำมาอยู่ในหัวไม่สามารถจัดการความคิดของตัวเองหรือขจัดมันออกไปได้ และมีความกดดันต่อตัวเอง บางรายเครียดมากจนเกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นได้ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตายกันเลยทีเดียว ดังนั้นปัญหาเรื่องการเครียดสะสมนี้จึงเป็นที่ต้องรีบทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จึงไม่ควรหลีกเลี่ยงปัญหา เลือกที่จะเผชิญหน้า ยอมรับความจริง และปรังปรุงตัวเองให้เป็นคนที่มีสภาพจิตใจที่เข้มแข็ง ไม่ควรเก็บเรื่องราวต่าง ๆ ไว้คนเดียว ควรปรึกษากับคนอื่นไม่ไม่ว่าจะเป็น คนในครอบครัว เช่น ญาติ พ่อ แม่ หรือใครก็ตาม อาจจะเป็นแฟน หรือเพื่อน แต่ถ้าดีที่สุดควรพบแพทย์เฉพาะทาง เนื่องจากบุคคลเหล่านี้อาจจะให้คำแนะนำดี ๆ ได้ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดเป็นโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด
ฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตออกมาเมื่อร่างกายเครียดจะมีอยู่ 2 ฮอร์โมนด้วยกันคือ Cortisol และ Adrenaline ซึ่ง สองฮอร์โมนนี้จะทำงานควบคู่กัน โดยฮอร์โมน Cortisol จะทำหน้าที่เผาผลาญพลังงาน หลั่งออกมามากที่สุดในช่วงเช้า ทำให้ร่างกายนั้นเกิดการตื่นตัว แต่สามารถหลั่งออกมาได้อีกก็ต่อเมื่อสมองเกิดสภาวะที่ตึงเครียด ส่วนฮอร์โมน Adreanaline ทำหน้าที่กระตุ้นหลอดเลือดให้เกิดการขยายตัวทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจมากขึ้น และถูกส่งต่อไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในส่วนถัดไป จึงส่งผลให้ร่างกายเกิดสภาพที่แข็งแรงขึ้นชั่วขณะ โดยความแข็งแรงนี้สามารถยกตู้เย็น หรือโอ่งที่มีน้ำหนักในปริมาณที่มากได้
ชนิดของความเครียด
Acute stress คือ ความเครียดที่ร่างกายเกิดการตอบสนองทันทีกับสถานการณ์นั้น ๆ โดยความเครียดนี้จะไม่กินระยะเวลาที่นาน
ตัวอย่างความเครียด
- เสียงจราจร
- สภาพภูมิอากาศ
- ปริมาณผู้คนแออัด
- อาการหิวของร่างกาย
- อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในท้องถนน ไม่เกี่ยวกับตัวเรา
Chronic stress คือ ความเครียดที่ร่างกายได้รับมาในแต่ละวัน และรูปแบบของความเครียดนั้นจะซ้ำไปซ้ำมาจนกระทั่งเกิดสภาวะความเครียดสะสม ซึ่งร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อความเครียดนั้นได้ทันที ต้องใช้ระยะเวลาในการบ่มเพาะนั่นเอง
ตัวอย่างความเครียดสะสม
- ความเครียดจากงานที่ทำในแต่ละวัน
- ความเครียดจากคนในที่ทำงาน
- ความเหงาไม่ว่าจะเป็นการอยู่คนเดียวหรืออกหัก
- ค่าเทอมลูก ค่าเช่าบ้านต่าง ๆ
อาการของความเครียด
หากท่านมีอาการเครียดมากและแสดงออกทางร่างกายดังนี้
- อ่อนแรงไม่อยากจะทำอะไร หมด Passion
- มีอาการปวดตามตัวและปวดศีรษะ
- วิตกกังวลมาเกเป็นพิเศษ
- มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ
- ไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิต
- เป็นโรคซึมเศร้า
ผลเสียต่อสุขภาพ
ความเครียดสะสมจะส่งผลโดยตรงกับสภาพจิตใจก่อนเป็นอันดับแรก ๆ จากนั้นค่อย ๆ ลุกลามและมีอาการที่ผิดปกติของร่างกายตามมา เช่น การนอนไม่หลับถึงแม้ว่าจะง่วงแค่ไหนก็ตาม อาการเบื่ออาหาร ไม่อยากที่จะทานเมนูที่ชอบหรือทำงานอดิเรก นั่งคิดแต่เรื่องเดิม ๆ ซ้ำไป ซ้ำมา และสุดท้ายจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุด
อาการที่ต้องปรึกษาแพทย์ทันที
- ร้องไห้ทุกวัน และนอนไม่หลับจนเป็นไข้
- ไม่สามารถควบคุมความคิดของตัวเองได้
- เกิดลักษณะที่คิดสั้น หาทางออกที่ไปในเชิงการจบชีวิต