โรคข้อเข่าเสื่อม ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

โรคข้อเข่าเสื่อม ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

 

                 ข้อเข่าเสื่อม อีกหนึ่งโรคทางกระดูกที่จัดอยู่ในกลุ่มรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ มีอัตราการเกิดในผู้สูงอายุหญิงมากกว่าผู้สูงอายุเพศชาย ทั้งนี้เกิดจากความเสื่อมถอยของมวลกระดูก การสร้างแคลเซียมในร่างกายลดน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้นรวมไปถึง น้ำหนักตัวและ การทำงานหนักในช่วงวัยที่ผ่านมา สิ่งเหล่าถือนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว โรคข้อเข่าเสื่อมจึงมาเยือน ทั้งนี้ โรคข้อเข่าเสื่อมนั้น เกิดจากการสึกหรอ ของกระดูกภายในบริเวณเข่า ซึ่งมาจากการใช้งานและสะสมเป็นระยะเวลานาน เมื่ออายุมากขึ้นอาการของโรคจึงปรากฏ ทั้งอาการปวดบริเวณเข่า  หัวเข่าบวม มีเสียงลั่นภายในเวลาเดิน เหยียดขาตรงลำบากเพราะเกิดภาวะยึดติดของข้อ ส่งผลให้มีการผิดรูปของเข่า และเริ่มยากลำบากต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

 

 

สาเหตุของการเกิดโรค

สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น ปัจจุบัน สามารถสรุปสาเหตุหลัก ๆ ได้ดังนี้

– โรคแทรกซ้อน โรคข้อเข่าอาจเกิดแทรกซ้อนจากการเป็นโรคอื่นๆมาก่อนได้ เช่น เก๊าท์
ข้ออักเสบ กระดูกพรุน เป็นต้น

– อุบัติเหตุ สามารถเป็นสาเหตุของโรคนี้ได้ หากเคยได้การกระเทือนหนักๆ จากอุบัติเหตุมาก่อน

– น้ำหนัก หากผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ดัชนีมวลกายไม่เหมาะสมกัน ส่งผลให้เข่าแบกรับน้ำหนักมากๆ เป็นเวลานาน ก็อาจจะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ในที่สุด

– วัย เนื่องจากอายุมากขึ้น สะสมการใช้งานเป็นเวลานาน อีกทั้งยังมีความเสื่อมโทรมของร่างกายจากการใช้งานมายาวนาน ก็ส่งผลให้ เกิดความเสื่อมโทรมของกระดูกข้อเข่าได้เช่นกัน

 

อาการ

สำหรับอาการที่พบของโรคนี้ อาจจะไม่ปรากฏอย่างชัดเจนเป็นระยะเวลาติดต่อกัน อาจจะเป็นแล้วหายเอง โดยที่ผู้ป่วยไม่ทันได้สงสัย อย่างไรก็ตาม ควรไปพบแพทย์หากมีอาการ ดังนี้

– ปวดเข่าบ่อยๆ อาการปวดแล้วหายแล้วก็กลับมาปวดอีก เป็นสัญญาณเริ่มต้นของภาวะข้อเข่าเสื่อม

– บวม เช่นเดียวกับอาการปวด อาการบวมก็จะเป็นแล้วหายเช่นกัน แต่อาการบวมโดยไม่ทราบสาเหตุบริเวณเข่านั่น ถือเป็นจุดสังเกตให้ทราบได้ ว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้

– ข้อฝืดหรือติด เหยียดได้ลำบาก อาการนี้ จะเกิดบางเวลา เช่น ตื่นนอน หรือนั่งเป็นระยะเวลานานๆ เกิดความรู้สึกปวดหรือเสียวเมื่อต้องลุกยืนหรือเหยียดขาเนื่องจากข้อยึดติดกัน หากเริ่มเป็นบ่อยๆ นับเป็นข้อสงสัยของอาการที่ควรไปพบแพทย์

 

โรคข้อเข่าเสื่อม ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

 

การรักษา

สำหรับการรักษานั้น สามารถทำได้แตกต่างกันไปตามความหนักเบาของอาการที่พบ โดยแยกเป็นวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้ หลักๆ ดังนี้

– ปรับพฤติกรรมและดูแลด้วยตนเอง วิธีการนี้สามารถทำได้ในผู้ที่ป่วยระยะเริ่มต้น โดยการปรับพฤติกรรมของตัวเอง เพื่อถนอมเข่าให้มากขึ้น อีกทั้งดูแลเอาใจใส่เมื่อมีอาการกำเริบขึ้นมา เช่น ไม่นั่งในท่าที่เสี่ยงต่อการยึดของข้อเป็นเวลานาน ดูและใส่ใจเรื่องน้ำหนักตัว ให้มีความพอดี สวมใส่รองเท้าที่มีพื้นกันกระแทก ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมไม่หักโหม ประคบหัวเข่าด้วยตัวเองเมื่อมีอาการปวด นอกจากนี้ ยังมีอีกหลากหลายอย่างสำหรับการปรับพฤติกรรมเพื่อรักษาเข่าด้วยตัวเอง ควรทำอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์

– การใช้ยา วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่ใช้กับทุกโรคทั่วไป สำหรับการใช้ยานั้น อาจจะเป็นการทำควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมเพื่อให้ได้ผลลัพสูงสุด โดยยาที่แพทย์จะจ่ายสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ ก็จะเป็น กลุ่มยาแก้ปวด, กลุ่มยาแก้อักเสบ ทั้งแบบมีและไม่มีเสตียรอยด์, กลุ่มยาสำหรับบำรุงหรือกระตุ้นความแข็งแรงของกระดูก ตลอดจนการฉีดสารหล่อเลี้ยงเข้าไปบริเวณข้อเข่า ทั้งหมดนี้ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ผู้ป่วยควรเชื่อฟังตามคำแนะนำ และไม่ควรซื้อยากินเองเด็ดขาด

– การผ่าตัด วิธีนี้จัดเป็นวิธีที่ได้ผลดีและนิยมกันอย่างมาก ในทางการแพทย์ปัจจุบัน โดยแพทย์จะผ่าตัดแก้ตามอาการต่างๆที่พบในโรคนี้เช่น ผ่าแก้อาการยึด, ผ่าแก้อาการผิดรูป, ผ่าเพื่อใส่ข้อเทียมทดแทน รวมไปถึงผ่าเพื่อเอาเศษกระดูกที่สึกหรอออกมา ทั้งนี้ สามารถทำได้ทั้งการผ่าตัดเปิดแผลขนาดใหญ่ ตลอดจนการผ่าเป็นบริเวณเล็กๆ แบบส่องกล้อง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของอาการที่ต้องรักษา

 

ปัจจุบันโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นจัดเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การดูแลให้ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดีอยู่เสมอ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ลดอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง เลือกกินอาหาร และออกกำลังกายให้เหมาะสมตามวัย การใช้อาหารเสริมสำหรับกระดูกเป็นอีกหนึ่งทางเลือกแต่ควรศึกษาข้อมูลให้ดีหรือขอคำแนะนำจากแพทย์เพื่อให้กินได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งการเข้าตรวจเช็คมวลกระดูกประจำปี อยู่เสมอก็จะเป็นอีกหนึ่งทางที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูก หรือหากพบความเสี่ยงก็จะสามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กลับมาเดินและทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตได้เหมือนเดิม

 

โรคข้อเข่าเสื่อม ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *