โรคหัวใจ และการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด

โรคหัวใจ และการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด

โรคหัวใจจัดเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยให้ผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดได้จากปัจจัยหลายๆอย่าง รวมถึงสภาพการณ์ถอดถอยเมื่อเข้าสูงวัยที่มากขึ้น ทั้งนี้เมื่อพบว่าผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคหัวใจ ควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที จึงจะสามารถกลับมาดำเนินชีวิตแบบปกติได้เหมือนเดิมอย่างก็ตาม วิธีการรักษาสำหรับโรคนี้ ในผู้สูงอายุนั้นมีวิธีการที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไปทั้งการใช้ยา การใช้เครื่องมือพิเศษอื่นๆ และการผ่าตัด ซึ่งทั้งหมดจะถูกประเมินและวินิจฉัยจากแพทย์เจ้าของไข้อีกที เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมในการรักษา ทั้งนี้การรักษา

โรคหัวใจในผู้สูงอายุนั้น  มีความซับซ้อนมากกว่าปกติเนื่องจากแพทย์ต้องประเมินความเสี่ยงต่างๆ ยิ่งวัยที่มากขึ้นข้อจำกัดยิ่งมีมากตามไป นอกจากนี้ยังรวมไปถึง ภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจจะได้รับผลจากการรักษาและการใช้ยา ดังนั้นแพทย์เจ้าของไข้จึงต้องประเมินความเสี่ยงอย่างระเอียดในหลายๆด้านก่อนจะตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดนั่นเอง

การผ่าตัดถือเป็นอีกหนึ่งวิธีสำหรับการรักษาโรคหัวใจ ที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อต้องทำการผ่าตัดผู้สูงอายุนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยในหลายๆด้าน เนื่องจากในวัยนี้ มีข้อจำกัดที่มากกว่า วัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ความอ่อนแอของร่างกาย สภาพภูมิคุ้มกันที่มีน้อย ตลอดจนการใช้ยาหรือยาสลบ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการพักฟื้นของแผลจากการผ่าตัดและผลข้างเคียงอื่นๆอีกด้วย ทำให้การจะตัดสินใจเลือกวิธีการผ่าตัดในผู้สูงอายุนั้น ต้องคิดให้รอบคอบและละเอียดถี่ถ้วนมากทีเดียว ทั้งนี้ ต้องเกิดความยินยอม และความเห็นไปในทิศทางเดียวกันของทั้งตัวผู้ป่วยเอง ญาติผู้ป่วย และแพทย์เจ้าของไข้ จึงจะสามารถใช้วิธีการผ่าตัดหัวใจในผู้สูงอายุได้

เมื่อตัดสินใจเลือกวิธีการผ่าตัดแล้วนั้น ผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว ควรมีการเตรียมพร้อมที่ดีก่อนเข้ารับการผ่าตัดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทั้งนี้ควรรับฟังคำแนะนำจากแพทย์ถึงแนวทางการเตรียมตัว และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อแพทย์เลือกที่จะให้ใช้การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดนั้น หมายความว่า ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ผลมากกว่าวิธีนี้ และแพทย์ยังประเมินความเสี่ยงออกมาแล้วว่าตัวผู้ป่วยเองสามารถผ่าตัดได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรทำใจให้สบายไม่เครียดหรือวิตกจนเกินไปก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ

โรคหัวใจ และการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด

 

ปัจจุบันโรคเกี่ยวกับหัวใจที่พบในผู้สูงอายุของประเทศไทยนั้นมีด้วยกันหลายแบบ อาทิ

– หัวใจล้มเหลว

– หลอดเลือดหัวใจอึดตันหรือตีบ

– หัวใจเต้นผิดปกติ อาจจะเกิดได้ทั้งช้าเกินไปหรือเร็วเกินไปก็ได้

– ลิ้นหัวใจตีบ

ซึ่งโรคเหล่านี้ สามารถรักษาได้ตามความรุนแรงของอาการที่ปรากฏ แต่อย่างไรก็ตามหากการรักษากลด้วยยา หรือเครื่องมือพิเศษ เริ่มได้ผลน้อย หรือไม่ได้ผล มีอาการเกิดภาวะเดิมของโรคซ้ำๆ การเลือกวิธีการผ่าตัด จึงเป็นทางออกเดียวของการรักษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ทั้งนี้ระดับความใหญ่ของการผ่าตัดนั้นไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเพื่อเบี่ยงหลอดเลือด ไปจนถึงการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ผู้ป่วยก็ควรมีการเตรียมตัวที่ดีก่อนเข้ารับการผ่าตัดเพื่อให้ผ่านไปด้วยดี และสามารถฟักฟื้นจนร่างกายกลับมาเป็นปกติได้เช่นเดิม

 

การเตรียมตัวโรคหัวใจ

  1. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ข้อนี้ถือเป็นพื้นฐานทั่วไปสำหรับการผ่าตัดในทุกโรค ป้องการ ภาวะต่างๆที่อาจเกิดกับอวัยวะภายในส่วนอื่นๆ ระหว่างการผ่าตัด ทั้งนี้ควรเริ่มงดก่อนการผ่าตัด 1 สัปดาห์
  2. แจ้งประวัติผู้ป่วย ประวัติการรักษา และประวัติการแพ้ยาให้กับแพทย์โดยละเอียด เพื่อให้มีการวางแผนรับมือระหว่างการผ่าตัดและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ยาสลบ สารเคมีบางตัว การเปิดแผล รวมไปถึงการเสียเลือดระหว่างผ่าตัดอีกด้วย
  3. งดทานยา ตามที่แพทย์แนะนำ ทั้งนี้เมื่อให้ประวัติการรักษาโดยละเอียดแก่แพทย์แล้ว อาจมียาที่ใช้อยู่บางตัว ที่แพทย์แนะนำให้หยุดกินก่อนเข้ารับการผ่าตัด ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

 

 

 

  1. ทำฟัน ข้อนี้อาจจะดูเหมือนไม่เกี่ยว แต่ถือเป็นข้อสำคัญมากสำหรับผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดหัวใจเลยทีเดียว เนื่องจากหากมีฟันผุ อาจจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหลังการเข้ารับการผ่าตัดได้ โดยก่อนทำฟันควรแจ้งทันตแพทย์ถึงโรคหัวใจที่เป็นอยู่ ตลอดจนการเตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด เพื่อให้ทันตแพทย์จ่ายยาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมทั้งก่อนและหลังการทำฟัน

5.ทำใจให้สบายไม่เครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไปสำหรับการเข้ารับการผ่าตัด ทั้งนี้ความเครียดหรือวิตกกังวล สามารถส่งผลให้อาการของโรคหัวใจทรุดลงไปได้ จนเป็นผลเสียระหว่างการผ่าตัด

หลังการผ่าตัดเรียบร้อยแล้วในระหว่างการฟักฟื้นควรอยู่ในความดูแลของแพทย์และพยาบาล เพื่อป้องกันผลข้างเคียงหลังการผ่าตัด ทั้งนี้ในระหว่างการพักฟื้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งการรับยา การรับทานอาหาร การพักผ่อน รวมถึงการเริ่มทำกิจกรรมต่างๆที่ไม่หักโหมจนเกินไปและอาจมีผลกระทบต่อหัวใจ เพื่อให้การฟื้นฟูเป็นไปได้ด้วยดี และได้ผลมากที่สุดหลังการรักษา  ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ว่าโรคหัวใจจะเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ แต่เมื่อพบแล้ว ผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวควรให้กำลังใจหาทางรักษาให้เหมาะสมและทันเวลา เชื่อฟังคำแนะนำของแพทย์ ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุยังสามารถกลับมาเป็นปกติได้อีกครั้งและมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขกับครอบครัวไปอีกนานเท่านาน

 

 

 

 

 

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *