ใบหน้ากระตุกเกิดจากอะไร
ใบหน้ากระตุกเกิดจาก การที่กล้ามเนื้อบนในหน้าทั้งซีกเกิดความผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งซีกของใบหน้าเลยหรือเกิดแค่บริเวณเฉพาะ เช่น กระตุกที่หนังตา กระตุกที่มุมปาก อาจจะเกิดการกระตุกแบบสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ บางครั้งมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อร่วมด้วย โรคชนิดนี้มักจะถูกกระตุ้นด้วยความเครียด การพูด การทำงาน บ่อยครั้งที่ทำให้ผู้ป่วยเสียบุคลิกไป ในการศึกษานั้นพบว่าใบหน้ากระตุกสามารถเกิดได้ในคนที่อายุระหว่าง 20-60 ปี อีกทั้งความเสี่ยงมักจะเกิดขึ้นกับชาวเอเชีย
อาการเริ่มแรกของโรคใบหน้ากระตุก คือมีลักษณะคล้ายเวลาเราเขม่นตา จะกระตุกไม่รุนแรงมากนัก ความแรงน้อย ๆ แต่ความถี่บ่อย ๆ หากเราปล่อยไว้นาน ๆ แล้วจะเกิดการกระตุกแบบรุนแรงจนส่งผลให้ตาปิดไปชั่วขณะ ซึ่งจริง ๆ แล้วสาเหตุใบหน้ากระตุกเกิดจากหลายปัจจัย ดังนี้
- เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ผิดปกติ เกิดการอักเสบหรือบาดเจ็บ หน้าที่หลัก ๆ ของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ทำหน้าที่บังคับการทำงานของกล้ามเนื้อบนใบหน้า ได้แก่ บริเวณหน้าปาก รอบตา มุมปาก รวมไปถึงความรู้สึกของลิ้น
- มีการเลือดไปขัดที่บริเวณก้านสมองเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ตรงนี้แน่นอนว่าเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 มีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อบนใบหน้าอย่างมาก การมีเลือดไปขัดก็เหมือนทำให้การทำงานติดขัด ไม่เป็นลื่นไหลนั่นเอง
- เนื้องอกบริเวณก้านสมองก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคใบหน้ากระตุก แต่พบได้ไม่บ่อยนัก
- โรคปลอกหุ้มประสาทส่วนกลางอักเสบ ซึ่งโรคนี้ส่งผลต่อระบบเส้นประสาทตาและไขสันหลัง ปลอกประสาทมีหน้าที่ในการส่งกระแสประสาท ดังนั้นหากเกิดการอักเสบ ก็จะไม่มีการส่งกระแสประสาทเกิดขึ้น
ซึ่งนอกจากสาเหตุที่สามารถนำไปสู่โรคใบหน้ากระตุก ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคนี้อีกด้วย เช่น
- การอยู่ในที่แสงสว่างมาก ๆ หรือเสียงดังมาก ๆ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าทำงานหนัก
- การเคี้ยว การพูด
- ร่างกายอ่อนเพลีย
- การยิ้มหรือการหัวเราะมากจนเกินไป
หากเราสังเกตปัจจัยจะพบได้ว่าส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการขยับตัวของกล้ามเนื้อทั้งสิ้น ไม่ว่าเราจะทำอะไร ทุกอย่างสามารถเป็นปัจจัยได้หมด ซึ่งในปัจจุบันมีการรักษาโรคใบหน้ากระตุกแล้ว คือ
- การฉีดยาโบทูลินั่ม ท็อกซิน ซึ่งการฉีดยาชนิดนี้ไม่ได้ทำให้โรคหายไปตลอดกาล ตัวยาสามารถระงีบอาการได้ประมาณ 3 เดือน
- การใช้ยาประเภท Clonazepam ซึ่งเป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้ เพราะไม่เจ็บตัว ผลข้างเคียงน้อย
- การผ่าตัด วิธีนี้ได้ผลถึงร้อยละ 91 แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยง เนื่องจากต้องใช้แพทย์ที่เชี่ยวชาญจริง ๆ