ไมเกรนอันตรายหรือไม่
ไมเกรนอันตรายไหม…คนที่กำลังเป็นอยู่คงจะต้องร้องบอกว่าแน่นอน! ไมเกรน คือ โรคที่สร้างความน่าปวดหัวให้ใครหลาย ๆ คน โรคไมเกรนสามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในวัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน ไมเกรนเกิดขึ้นจากการบีบและการคลายตัวของหลอดเลือดแดงในสมองที่แรงกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง บางรายอาจจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย บางรายตาจะเกิดการพร่ามัว ไม่มีแรง เห็นแสงสีขาววาบเป็นระยะ ๆ หากเป็นแล้วต้องรักษาทันทีหรือเปลี่ยนพฤติกรรมเนื่องจากสามารถนำไปสู่อาการเรื้อรังได้
ปัจจัยของการเกิดไมเกรนมีได้หลายปัจจัย ได้แก่
- นอนน้อย นอนไม่หลับ
- เกิดภาวะเครียด วิตกกังวล
- พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ
- การเลือกรับประทานยาคุมกำเนิดที่ไม่ได้คุณภาพ เช่น ยาคุมกำเนิดที่ออกฤทธิ์แรง
- การดื่มแอลกอฮอลเป็นประจำทุกวัน
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนย มาการีน
อย่างไรก็ตามปัจจัยเหล่านี้เป็นเพียงแค่ส่วนนึง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา อาการของไมเกรนสามารถเกิดขึ้นได้ คือ ปวดศีรษะครึ่งซีก ปวดบริเวณขมับ ท้ายทอย ในการปวดแต่ละครั้งจะกินเวลาไปประมาณ 20 นาทีแต่ปวดตุ๊บ ๆ รุนแรงมาก ผู้ป่วยบางคนจะอาเจียนร่วมด้วย บางรายหนักจนไม่สามารถรับประทานอะไรเลย บางรายอาจจะทำให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นแย่ลง ตาพร่ามัว เบลอ ซึ่งถ้าหากถามว่าไมเกรนอันตรายไหม…ก็คงต้องบอกว่าใช่!
การรักษาของอาการไมเกรนนั้นสามารถทำได้ 3 วิธีใหญ่ ๆ ดังนี้
- เกิดอาการแบบเฉียบพลัน
ในวิธีนี้แพทย์จะทำการจ่ายยาประเภทที่ใช้รักษาอาการปวดหัว เช่น พาราเซตามอล หรือ ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาที่เกี่ยวกับการรักษาอาการโดยตรง เช่น ยากลุ่มทริปแทน หรือ ยาที่มีเออโทกามีนเป็นส่วนผสม ซึ่งจะเข้าออกฤทธิ์กับเส้นเลือดสมองโดยตรง บางครั้งแพทย์ก็จะจ่ายยาลดอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย
- อาการที่ไม่มีอาการปวดหัว วิธีนี้ต้องใช้การรับประทานยาติดต่อกันหลายวัน ซึ่งจะเป็นพวกกลุ่มยาที่กันชัก เช่น โทไพราเมท กลุ่มยาปิดกั้นการรับแคลเซียม เช่น เวราพามิล ซินนาริซิน และกลุ่มตัวยาปิดรับเบต้า เช่น เมโทรโพลอล หรือ โพพาโนลอล เป็นต้น
- อาการซึมเศร้า โรคไมเกรนสามารถเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ แพทย์จะทำการจ่ายยาประเภท ดูโรทีซีน หรือ นอร์ทริปทีไล เป็นต้น
ซึ่งโรคชนิดนี้สามารถหายไปได้เอง หากเราเป็นแค่เฉียบพลัน แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้การทานยาประจำก็เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดที่แพทย์แนะนำ